20 กุมภาพันธ์ 2553

ประกวดถ่ายภาพ ”เทศกาลง่วนเซียว”

กำหนดการประกวดถ่ายภาพ ”เทศกาลง่วนเซียว”ที่จัดงานโรงงิ้วตรงข้ามศาลเจ้าปุนเถ่ากง ตลาดไนท์พลาซ่า พิษณุโลกวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553
16.00 – 17.00 น. ลงทะเบียนสมัครแข่งขันประกวดถ่ายภาพ
17.15 – 17.50 น. รับฟังการบรรยาย
- ความเป็นมาของเทศกาลง่วนเซียว
- เทศกาลง่วนเซียวจังหวัดพิษณุโลก
- ข้อมูลที่จำเป็นที่ใช้ในการแข่งขัน
แจกหัวข้อในการแข่งขันและชี้แจงกติกาการแข่งขัน ( หลังจากการฟังบรรยาย ) เวลา 17.50 น.20.00 – 21.00 น. ส่งผลงานภาพถ่ายหมายเหตุ ผู้เข้าแข่งขันต้องส่งผลงานในเวลาที่กำหนด โดยนำภาพถ่ายมาโหลดลงคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่ทันที ( ไม่อนุญาตให้ใช้เทคนิคในการแต่งภาพใดๆทั้งสิ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ยกเว้นจากโปรแกรมของตัวกล้อง หากผลงานใดมีการใช้เทคนิคการแต่งภาพจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะถูกตัดสิทธิ์ในการส่งผลงานเข้าแข่งขัน )วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 255313.00 น. มีจัดแสดงผลงานของผู้เข้าแข่งขัน วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 255310.00 – 11.00 น. กรรมการตัดสินผลงาน18.00 – 19.00 น. ประกาศผลและมอบรางวัลอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมกล้องถ่ายภาพ ( ดิจิตอล )สายต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์ ( USB / DATA LINK) หรือ card reder ก็ได้ครับ”เทศกาลง่วนเซียว” แข่งถ่ายแบบกลางคืนครับเดินถ่ายโคมไฟสวยๆกันครับ รับหัวข้อเดินถ่ายเสร็จแล้วส่งเลยครับ มีความคืบหน้าจะมารายงานเรื่อยๆนะครับ-------------------------------------------------เทศกาลง่วนเซียว (โคมไฟแดง) ทราบกันไหมว่าเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีนั้นมีวันที่เป็นเทศกาลสำคัญถึงสาม งานด้วยกัน หลายๆ คนคงนึกถึงแค่วันมาฆบูชา ที่ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสามของไทย และวันวาเลนไทน์เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วยังมีอีกหนึ่งเทศกาลที่มีความสำคัญต่อชาวจีน นั่นก็คือ เทศกาลง่วนเซียว ที่ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้ายของจีน ซึ่งเป็นเทศกาลที่ชาวจีนเชื่อว่าหลังจากวันนี้ไปจะต้องเดินเครื่องทำงานกันอย่างเต็มที่ โดยนับไป 14 วันหลังจากวันตรุษจีน ในหลายๆ แห่งที่จัดงานเทศกาลง่วนเซียวจะมีการประดับประดาโคมไฟอย่างสวยงาม และที่ขาดไม่ได้สำหรับงานเทศกาลของคนจีนก็คือเครื่องเซ่นไหว้ ที่มีทั้งหมู เป็ด และไก่ เป็นต้น แต่สำหรับเทศกาลง่วนเซียวแล้วของไหว้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การไหว้ขนมไช้ก้วย เป็นขนมแป้งที่มีไส้กุยช่าย ไส้เผือก ไส้หน่อไม้ ไส้มันแกว เป็นต้น โดยขนมจะเป็นสีแดง เพื่อความเป็นสิริมงคลอันหมายถึงโชคอันดับแรก จึงเหมาะแก่การนำมาไหว้ต้นปี เทศกาลมงคลที่บางปีก็ทับซ้อนกันสองงานในหนึ่งวันระหว่างวันมาฆบูชาของไทย และเทศกาลง่วนเซียวของจีน ช่างเหมาะสมจริงๆ กับวัฒนธรรมไทย-จีนที่ไม่เคยห่างจากกัน
Link: http://forum.welovefoto.com/index.php/topic,5206.0.html